การทำรายรับรายจ่าย ร้านอาหาร แบบง่ายๆ ด้วย Template Google sheet

google sheet • July 3, 2024

ตัวอย่าง การทำรายรับรายจ่าย สำหรับร้านอาหาร

รายรับรายจ่าย ร้านอาหาร

การ ทำรายรับรายจ่าย ธุรกิจ ในแต่ละธุรกิจ อาจจะมีความแตกต่างกันบ้าง ตามลักษณะของธุรกิจนั้นๆ หรือแม้แต่ในธุรกิจเดียวกัน แต่คนบริหารงานเป็นคนละคน การทำรายรับรายจ่าย ก็อาจจะแตกต่างกันไปเลยก็มี


แต่ถ้าเรามองถึง จุดประสงค์หลัก ของการ ทำรายรับรายจ่าย แล้ว การทำรายรับรายจ่ายอย่างไร ให้ตอบโจทย์กับความต้องการของคนบริหารธุรกิจต่างหาก ที่เป็นประเด็นที่สำคัญ


วันนี้ เราเลย อยากจะมานำเสนอ ไอเดีย การนำเทมเพลต Template รายรับรายจ่าย สำหรับธุรกิจ แบบมี Budget Planner Monthly วางแผนล่วงหน้าได้ มีบันทึกสต๊อกอย่างง่าย ของ Studiophotostory.com มายกตัวอย่างให้เห็นภาพกัน ว่า ถ้าใช้เทมเพลตของเราแล้ว หน้าตาของผลลัพธ์ มันจะออกมาเป็นแบบไหน

google sheet บันทึกรายรับรายจ่าย

ขั้นตอนการทำรายรับรายจ่าย

วิธีการทำรายรับรายจ่าย แบบนี้ เป็นไอเดียให้เพื่อนๆ ลองเอาไปใช้งานตามกันได้เลยนะครับ

  1. เราต้องรู้ก่อน ว่าเราอยากรู้อะไร
    เช่น
    ผมทำร้าน ชาบูบุฟเฟต์ อยู่ ปัญหาตอนนี้ คือ ผมทำร้านไปเรื่อยๆ ซื้อของเข้ามา ถึงเวลาก็ขาย วันวันก็ รับเงิน จ่ายค่าวัตถุดิบ จ่ายค่าแรงพนักงาน สิ้นเดือนเหลือเท่าไร ก็ว่ากันอีกที
    ทำแบบนี้มาเรื่อยๆ จน เริ่มรู้สึกว่า ทำมาก็เยอะ แล้วเงินไปอยู่ตรงไหน ขายได้เยอะนะ แต่จ่ายอะไรไปบ้าง เริ่มไม่แน่ใจ

    ดังนั้น สิ่งที่ผมต้องการคือ
    "อยากรู้ว่าแต่ละเดือน มียอดขายเท่าไร / มีรายจ่ายเท่าไร โดยแบ่งเป็นหมวดๆ ตามที่ผมอยากรู้ / หักรายจ่ายจากรายได้เป็นเดือนๆ มีเงินคงเหลือจริงเท่าไร"

  2. จัดกลุ่มของรายรับ รายจ่าย ตามที่เราต้องการดูยอดเป็นตัวเลขรายเดือน และแยกบัญชีที่ใช้กับธุรกิจให้ชัดเจน
    สิ่งสำคัญที่สุดของการทำธุรกิจเลยนะ ก็คือ เรื่องเงินทุน ถ้าเราจัดการบริหารพลาด ถ้าถึงยามวิกฤตจริงๆ เราอาจจะไม่มีโอกาสแก้ตัวนะ ดังนั้นเรื่องเงิน เราต้องจัดการให้ดีตั้งแต่แรกๆเลย ควรแยกบัญชีของธุรกิจ ออกจากส่วนตัวให้ชัดเจน และจัดกลุ่มของรายรับ รายจ่ายให้เป็นหมวดๆ เพื่อจะได้รู้ตัวเลขของแต่ละหมวดอย่างชัดเจน

    เช่น

    รายรับ
    -  ยอดขายหน้าร้าน
    - ยอดขาย Delivery(GRAB)
    - ยอดขาย Delivery(LINE MAN)
    - รับดอกเบี้ย

    รายจ่าย
    - ค่าน้ำ
    - ค่าไฟฟ้า
    - ค่าโทรศัพท์/อินเตอร์เน็ต
    -  ค่าน้ำมัน/เดินทาง
    - ค่าเช่า
    - ค่าแรงพนักงาน/เงินเดือน
    - ค่าทำบัญชี
    - ภาษี
    - การตลาด/โฆษณา
    - วัตถุดิบ- เนื้อสัตว์
    - วัตถุดิบ- อาหารแช่แข็ง
    - วัตถุดิบ- ผักสด
    - วัตถุดิบ- อาหารทะเล
    - วัตถุดิบ- เครื่องปรุง
    - เครื่องดื่ม- น้ำเปล่า
    - เครื่องดื่ม- น้ำอัดลม
    - เครื่องดื่ม- แอลกอฮอล์
    - เครื่องดื่ม-Mixxer
    - อุปรณ์เครื่องครัว
    - ของใช้สิ้นเปลืองภายในร้าน
    - อุุปกรณ์บริหารร้าน
    - ตกแต่ง/รีโนเวท
    - จ่ายดอกเบี้ย
    - ค่าธรรมเนียม Delivery
ตัวอย่างการทำรายรับรายจ่ายร้านอาหาร

การกำหนดหมวดหมู่ไว้แบบนี้ จะทำให้เวลาเรา บันทึกรายการรับจ่ายต่างๆ เราจะทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

โดยเฉพาะเวลาที่เราดูสรุปผล เราจะได้เห็นตัวเลขชัดเจน ว่า เราใช้เงินไปกับ ค่าใช้จ่าย หมวดใด มากที่สุด และค่าใช้จ่ายนั้น สมเหตุสมผล กับยอดรายได้ ที่เราได้รับมาหรือไม่


ซึ่งเมื่อเราเห็นตัวเลขแล้ว เราก็จะสามารถวิเคราะห์เองเบื้องต้นได้ว่า ถ้าเราอยากได้กำไร ที่เพิ่มขึ้น เราจะพอลดหรือประหยัด ค่าใช้จ่าย ที่มันถูกใช้จ่ายออกไปเกินจำเป็นได้หรือไม่  หรือ อาจจะดูยอดเงินคงเหลือ จากการทำธุรกิจ ถ้ายอดขายเยอะ กำไรเหลือเยอะ เราจะขยายสาขาเพิ่มดีไหม เป็นโอกาสในการสร้างผลกำไรที่เพิ่มมากขึ้น



ตัวอย่าง การทำรายรับรายจ่าย ร้านอาหาร

  3.  บันทึกรายการรับจ่ายเป็นประจำ ทุกวัน อย่างสม่ำเสมอ

ที่สำคัญไม่แพ้กันเลย คือ ความสม่ำเสมอ ในการลงมือทำ เพราะ จุดสำคัญ ก่อนที่เราจะสามารถมองเห็นตัวเลขสรุปได้ เราต้องมีข้อมูลจริงก่อน ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องทำให้สม่ำเสมอ เพื่อให้ผลลัพธ์เกิดขึ้นให้ได้


  4.  อ่านสรุปผล

และนำตัวเลข ที่ได้ มานั่งวิเคราะห์ ว่า เราใช้จ่ายอย่างสมเหตุสมผล กับ ยอดขาย ที่เราได้รับหรือไม่



คำนวณต้นทุน ร้านอาหาร

สรุป ต้นทุน กำไร แบ่งตามประเภท

เครื่องมือ สุดปัง สำหรับ ธุรกิจ ที่ต้องการแยกให้เห็นภาพชัดๆ  ว่า แต่ละเดือน เราทำธุรกิจมา สรุปแล้ว เหลือกำไร กี่บาท คิดเป็นกี่ % โดยเฉพาะ ร้านอาหาร เห็นขายดิบขายดี  พอมาสรุปยอดขาย กับ ต้นทุนต่างๆ แล้ว เราก็จะรู้ได้เลย ว่า เหลือ กำไรในเดือนนั้น เท่าไร


ถ้าทำธุรกิจอยู่ แล้ว ยังไม่รู้ข้อมูลแบบนี้ ต้องรีบ บันทึกรายรับรายจ่ายกันแล้วล่ะ



นอกจากข้อดี เรื่อง การมองเห็นตัวเลขชองรายรับรายจ่ายที่แท้จริง ตามหมวดๆแล้ว เรายังสามารถ ดูยอดเงินหมุนเวียนคงเหลือ ในร้านอาหารของเราได้ด้วย ว่าเงินคงเหลือ แต่ละบัญชี มีมูลค่าเท่าไร หรือ ใช้เงินเครดิตไปเท่าไร


ร้านอาหารหลายๆ ร้านอาจจะพลาดจุดนี้ไป บางที ขายได้เยอะ ก็หลวมตัว ดึงเงินร้านออกมาซื้อของส่วนตัว แล้ว ไม่ได้ดูว่า ยังมียอดเงินที่ค้างจ่ายร้าน ซัพลายเออร์ อีก ทำให้หมุนเงินไม่ทันบ้าง สะดุดบ้าง  การมีสรุปยอดเงินคงเหลือของแต่ละบัญชีของร้าน ก็จะช่วยให้เราโฟกัสการใช้จ่ายได้ดีมากขึ้น

ตัวอย่าง การทำรายรับรายจ่าย ร้านอาหาร

จากรูปด้านบน

ตารางซ้ายมือ จะแสดงยอดเงินคงเหลือ แต่ละบัญชี  ยอดเงินจะเพิ่มขึ้น ลดลง ตามรายการรับจ่าย ที่ถูกบันทึกเข้ามา

ตารางขวามือ จะแสดงยอดภาระหนี้คงเหลือ
จะเห็นว่ามียอด + และ -
ยอดที่เป็นบวก หมายถึง เป็นภาระหนี้ ที่เราต้องจ่าย

ยอดที่เป็นลบ  หมายถึง เป็นยอดเงินที่เราจะได้รับ ( ถ้าได้รับแล้ว ยอดเงินจะถูกย้ายไปบวก อยู่ในตารางซ้ายมือ)


หากเพื่อนๆ ต้องการเทมเพลต รายรับรายจ่าย ร้านอาหาร แบบนี้ไปใช้ สามารถกดสั่งซื้อได้ที่หน้าร้านค้าได้เลย ละทักหาแอดมิน เพื่อสอบถามปัญหาการใช้งานเทมเพลตได้ที่ Chat Facebook

ไม่เคยใช้งานมาก่อน ก็สามารถใช้งานได้ มีคลิปสอนการใช้งานให้ชม

ทำเว็บ
การกู้คืนไฟล์ Google sheet
By Google sheet February 5, 2025
สำหรับมือใหม่ ที่กำลังหัดใช้งาน Google sheet อยู่ อาจจะลองกดนั่น กดนี่ เพื่อเรียนรู้การใช้งานไปเรื่อยๆ จนบางครั้งอาจจะไปเผลอ กดลบไฟล์ทิ้งไป โดยไม่รู้ตัว พอจะกลับมากดเข้าไฟล์ใหม่อีกรอบ ปรากฎว่า หาไฟล์ที่เคยใช้งานอยู่ไม่เจอ บนหน้า แอพ Googleชีต ซะแล้ว ถ้าเป็นแบบนี้ จะทำยังไงดี?
รายรับรายจ่าย รับเหมา
By Google ชีต September 15, 2024
หน้าสรุปรายงานตามโครงการ เพียงเลือกชื่อโครงการ ที่ต้องการดูสรุปข้อมูล แค่คลิกเดียว ข้อมูลที่เคยบันทึกไว้ ก็จะถูกดึงมาสรุปให้อัตโนมัติ สามารถดู ต้นทุน ค่าใช้จ่ายในโครงการ กำไร สรุปแล้วแต่ละรายการ คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของรายได้ เราสามารถดูได้จากหน้านี้ได้เลย เราสามารถสั่งพิมพ์รายงานหน้านี้เป็น PDF ได้
บันทึกยอดขาย ธุรกิจออนไลน์
By Google sheet August 9, 2024
หากคุณ กำลัง ทำธุรกิจ ในรูปแบบ ที่ มีการขายออนไลน์ หลายช่องทาง และมีการส่งสินค้า ผ่านทางขนส่งต่างๆ เทมเพลต ตัวนี้ จะช่วยให้การบันทึกรายการขายสินค้า เป็นระบบมากขึ้น
การแยกไฟล์ ให้พนักงานใช้ได้เฉพาะส่วนบันทึกเท่านั้น
By Admin August 4, 2024
วันนี้ แอดมิน จึงจะมาแชร์วิธีการ แยกไฟล์ ออกจากกัน แล้วนำข้อมูลมาสรุปในไฟล์หลัก เพื่อป้องกันไม่ให้ พนักงาน มองเห็นข้อมูลบางอย่างในไฟล์หลักของเราได้ หมายความว่า พนักงานก็จะบันทึกข้อมูลให้เราไปเรื่อยๆ แล้วข้อมูลที่บันทึกนั้น ก็จะไหลเข้าไฟล์หลักของเราทันทีโดยที่ไม่ต้องให้เขาเข้ามาในไฟล์เราเลย เรามาดูวิธีทำกัน
เพิ่มสูตรบนเทมเพลตแยกโครงการ
By Google sheet July 27, 2024
จากเทมเพลตเดิม ที่มีนั้น ผู้ใช้งานได้ให้ฟีดแบคมา และชื่นชอบเทมเพลตเป็นจำนวนมาก เราเห็นว่า ฟังก์ชั่นที่ผู้ใช้งานอยากได้เพิ่มนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้งานเทมเพลตตัวนี้ เราเลยหาวิธี และขั้นตอนที่ง่าย เพื่ออัพเดท ฟังก์ชั่น ให้ฟรี ( ผู้ใช้เทมเพลตต้องทำเพิ่มเอง ตามวิธีการด้านล่าง) เพื่อให้สามารถ ดูรายงานสรุป แยกโครงการ ตามเดือนที่ต้องการดูได้
แยกกระเป๋าเงินส่วนตัวกับธุรกิจ
By Google sheet July 12, 2024
ทำไมเราต้องแยกกระเป๋า ก็เงินเราทั้งหมดไม่ใช่หรอ? เราต้องมาทำความเข้าใจใหม่ เกี่ยวกับเจ้าของเงินกันก่อน เพื่อให้เรามองเห็นภาพได้ชัดมากขึ้น คำถามที่ว่า ทำไมต้องแยกกระเป๋า ก็เงินเราหมดไม่ใช่หรอ ผมอยากให้เพื่อนๆ มองแบบนี้ครับ เมื่อก่อน ถ้าเราไม่ทำธุรกิจเอง เราก็อาจจะไปเป็นลูกจ้างของธุรกิจไหนสักที่ และได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนกลับมาถูกไหมครับ ในทางเดียวกัน เรามาทำธุรกิจเอง ก็หมายความว่า เราย้ายกลับมาเป็นลูกจ้างของธุรกิจเราเอง ดังนั้น เราก็ควรได้รับค่าตอบแทนเช่นเดียวกัน แต่อันที่จริง ก็คือ เงินธุรกิจ ใช้สำหรับหมุนเวียน เพื่อให้ธุรกิจดำเนินกิจการต่อได้และเกิดผลกำไร เงินส่วนตัวก็คือ เงินที่เราใช้จ่ายส่วนตัว ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ถ้าเราแยกจากกันได้ จะทำให้การบริหารเงินขั้นต้น ทำได้ง่ายไม่ปวดหัวครับ หลายๆคนที่ทำไม่ได้ ก็ติดตรงที่แยกกระเป๋าไม่ได้นี่แหล่ะ
Show More